Loading...

นักวิจัยธรรมศาสตร์ คว้า 21 รางวัล นวัตกรรมสร้างสรรค์บนเวทีสิ่งประดิษฐ์ ITEX 2019

นักวิจัยธรรมศาสตร์ สร้างผลงานโดดเด่นคว้า 21 รางวัล จากการประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ITEX 2019 มีผลงานเข้าร่วมกว่า 900 ผลงาน จาก 21 ประเทศ

วันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2562

  

          ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้า 21 รางวัล จากการประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ The 30th International Invention, Innovation and Technology Exhibition (ITEX 2019) เมื่อวันที่ 2 – 4 พฤษภาคม 2562 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ภายในงานฯ มีผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการกว่า 900 ผลงาน จาก 21 ประเทศ โดยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับเหรียญทอง 6 รางวัล เหรียญเงิน 8 รางวัล เหรียญทองแดง 3 รางวัล และรางวัลพิเศษ (Special Prize) อีก 4 รางวัล

          ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การนำผลงานเข้าร่วมประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในเวทีนานาชาตินั้น ลักษณะผลงานต้องโดดเด่น เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นที่สนใจหรือตรงต้องการของตลาด และจากความสำเร็จของนักวิจัยแสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานให้แก่ประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในเวทีระดับโลก 

รางวัลเหรียญทอง จำนวน 6 ผลงาน

          1. เรื่อง เครื่องสูบน้ำแบบท่อเขย่าพลังงานแสงอาทิตย์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          2. เรื่อง สปีด 1 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้รับรางวัล Special Prize จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) ประเทศไต้หวัน

          3. เรื่อง สปีด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          4. เรื่อง นมข้าวข้นหวานผง สูตรพรีไบโอติกและใยอาหาร โดย ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และได้รับรางวัล Special Prize จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

          5. เรื่อง โยเกิร์ตมังสวิรัติอบกรอบรสมังคุด สูตรซินไบโอติก โดย ดร.กฤติยา เขื่อนเพชร และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          6. เรื่อง พาเลทไม้ปรับเปลี่ยน: โครงการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางในการเรียนรู้ภายในชุมชนคลองเตย โดยแท่นวางบรรจุภัณฑ์เหลือใช้ โดย ดร.วิญญู อาจรักษา และคณะ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง และได้รับรางวัล Special Prize จาก Hong Kong International Student Innovative Invention Contest เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

รางวัลเหรียญเงิน จำนวน 8 ผลงาน

          1. เรื่อง เครื่องตรวจวัดความสดใหม่ของไข่ไก่ โดย ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          2. เรื่อง ไบโอเซนเซอร์ตรวจจับเซลล์มะเร็งเต้านม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          3. เรื่อง ทียู เอ็กซกาด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิราวุฒิ เพชรเย็น และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          4. เรื่อง มะขามกวนรสน้ำผึ้งมะนาวสูตรเคี้ยวหนึบและชงดื่มเพื่อสุขภาพ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุศราภา ลีละวัฒน์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          5. เรื่อง แลบบนสาลีเพื่อใช้ในการตรวจไซยาไนด์และทีเอ็นที โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นภาพร ยังวิเศษ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          6. เรื่อง อุปกรณ์วัดความอิ่มตัวของเลือดด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์

          7.เรื่อง สื่อการเรียนรู้กายภาพบำบัดทรวงอกด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง โดย อาจารย์การันต์ พงษ์พานิช และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์

          8. เรื่อง ชุดทดสอบแบบรวดเร็วโรคเลปโตสไปโรสิส โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ โฆษิตานนท์ และคณะ จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ และได้รับรางวัล Special prize จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) ประเทศไต้หวัน

รางวัลเหรียญทองแดง จำนวน 3 ผลงาน

          1. เรื่อง การวัดปริมาณสารบ่งชี้มะเร็งเต้านมด้วยสมาร์ทโฟน โดย ดร.เบญจมาภรณ์ ตั้งนรวิชญ์ และคณะ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          2. เรื่อง โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจระยะที่ 1 ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง โดย อาจารย์การันต์ พงษ์พานิช และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์

          3. เรื่อง เข็มขัดประคบเย็นหลังผ่าตัดทรวงอก โดย อาจารย์การันต์ พงษ์พานิช และคณะ จากคณะสหเวชศาสตร์

          การประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ The 30th International Invention, Innovation & Technology Exhibition (ITEX 2019) เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เวทีระดับนานาชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมในเวทีระดับนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเข้าร่วมการประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ITEX 2019 จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้งานวิจัยและนวัตกรรมของไทยไปสู่ระดับสากล